คณะผู้บริหารโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

โชว์กิจกรรม

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ระเบียบปฏิบัติ

1.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 1 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน

2.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา1จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้าและใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา

3.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด

4.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด

5.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย

6.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้

7.

การขออนุญาตลาป่วยนักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว

8.

ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

9.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน

10.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง

11.

นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์

12.

นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ

13.

นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ

14.

นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง

15.

ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นมหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ในภาคเรียนนั้น

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

เรื่อง การจำแนกสารรอบตัว เวลา 3 คาบ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

วันที่ 12 พฤษภาคม 2552

สาระสำคัญ

สาร หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่อาศัย และสัมผัสได้

สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด

การจำแนกประเภทของสารโดยใช้สถานะและเนื้อสารเป็นเกณฑ์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของสารและสมบัติของสารได้

2. นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม

3. นักเรียนสามารถจัดกลุ่มสารเป็นเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม โดยใช้ลักษณะเนื้อสาร และสถานะเป็นเกณฑ์

4. นักเรียนสามารถยกตัวอย่างสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสมในชีวิตประจำวัน

สาระการเรียนรู้

สาร หมายถึง สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่อาศัย และสัมผัสได้ เช่น อาหาร ต้นไม้ คน สัตว์ โต๊ะเก้าอี้ อากาศ

สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสารแต่ละชนิด จำแนกสมบัติของสารออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. สมบัติทางกายภาพ เป็นสมบัติที่บ่งบอกถึงลักษณะภายนอก สามารถทดสอบและสัมผัสได้ง่ายๆ เช่น สี ขนาด รูปร่าง

2. สมบัติทางเคมี เป็นสมบัติที่ใช้ปฏิกิริยาเคมีเป็นตัวบ่งชี้ เช่น ความเป็น กรด-เบส การสลายตัว

การจำแนกประเภทของสาร

ในการศึกษาเรื่องสาร จำเป็นต้องแบ่งสารออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำสารโดยทั่วไปนิยมใช้สมบัติทางกายภาพด้านใดด้านหนึ่งของสารเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสาร ซึ่งมีหลายเกณฑ์ด้วยกัน เช่น

1.ใช้สถานะเป็นเกณฑ์ จะแบ่งสารออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.1 ของแข็ง

1.2 ของเหลว

1.3 ก๊าซ

2.ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

2.1 สารเนื้อเดียว

2.2 สารเนื้อผสม

กระบวนการเรียนรู้

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.1 พูดคุยสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน ในการเข้าห้องสอนครั้งแรก

1.2 นำเข้าสู่บทเรียนโดยการใช้คำถามต่อไปนี้ว่า

เมื่อเราต้องค้นหาหนังสือในห้องสมุด หนังสือเหล่านั้นจะจัดวางอย่างไร

แนวการตอบ จัดวางตามหมวดหมู่, จัดวางตามประเภทหนังสือ

ถ้าห้องสมุดไม่ได้วางหนังสือเป็นหมวดหมู่ การหาหนังสือที่ต้องการจะยุ่งยากเพิ่มขึ้นหรือไม่

แนวการตอบ จะมีความยุ่งยาก และเสียเวลาในการหาหนังสือมาก

จากการศึกษาที่ผ่านมานั้นช่วยทำให้เราจัดกลุ่มสิ่งของที่รู้จักในชีวิตประจำวันได้โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น สี รูปทรง ขนาด สารที่เราแบ่งกลุ่มนี้อาจมีสมบัติเพียงบางประการที่เหมือนกัน

2. ขั้นกิจกรรม

2.1 ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน้า 8-9 อ่านกิจกรรมที่ 1.1 การจัดกลุ่มสารรอบตัว

2.2 ให้นักเรียนจัดกลุ่มสารที่ครูเตรียมมาให้ เช่น ดิน นมสด น้ำตาลทราย น้ำโคลน น้ำเกลือ น้ำเชื่อม น้ำมันพืช เป็นต้นโดยมีเกณฑ์การแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ จะแบ่งสารออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะแบ่งสารออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สารเนื้อเดียว และสารเนื้อผสม

3. ขั้นสรุป

3.1 เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.1 แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุป ผลการทดลอง โดยการใช้คำถามต่อไปนี้ว่า

เราจะใช้เกณฑ์ใดในการจัดกลุ่มสารรอบตัวที่นำมาศึกษา

แนวการตอบ อาจใช้สถานะ สี กลิ่น ลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่ม

ถ้าจัดกลุ่มสารรอบตัวโดยใช้ลักษณะของเนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะจัดได้อย่างไร

แนวการตอบ ใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สารเนื้อเดียว และ สารเนื้อผสม

ถ้าจัดกลุ่มสารรอบตัวโดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์ จะจัดได้อย่างไรและยกตัวอย่างประกอบ

แนวการตอบ ใช้สถานะเป็นเกณฑ์ จะแบ่งสารออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ของแข็ง

ของเหลว และก๊าซ

3.2 ครูสรุปทบทวนความรู้ให้กับนักเรียนอีกครั้ง

สื่อการเรียนรู้

หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สารและสมบัติของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

แหล่งการเรียนรู้

1. ห้องสมุด

2. อินเตอร์เน็ต

การวัดผล/ประเมินผล

ประเมินผลจากการที่นักเรียนส่งผลการทดลอง โดยเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

1. ตอบคำถามถูกต้อง 80 % ผ่าน

2. ตอบคำถามถูกต้องต่ำกว่า 50%ไม่ผ่าน

บันทึกหลังสอน

......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................